วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

ส่วนประกอบของมือถือและการนำไปใช้ประโยชน์

ส่วนประกอบของมือถือ  ในโทรศัพท์มือถือหนึ่งเครื่อง มีส่วนประกอบที่แตกต่างกันออกไป แต่ส่วนประกอบหลักที่สำคัญที่ใกล้เคียงหันจะประกอบด้วย


แบตเตอรี่ ส่วนประกอบสำคัญ แหล่งพลังงานที่ทำให้ โทรศัพท์มือถือใช้งานได้แต่ความจุของแบตเตอรี่นั้นก็แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของมือถือ เช่นเครื่องเล็กจะมีก็ความจุน้อย สมาร์ทโฟนก็มีมีความจุมากขึ้น


ไมโครโฟน และลำโพง สิ่งสำคัญที่ทำให้การสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นไปได้ ทำให้เสียงจากโทรศัพท์มือถือต้นทางและปลายทางสื่อสารกันได้


หน้าจอ โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆในยุคปัจจุบัน ยอมรับว่าสำคัญมาก ปุ่มกดหายไปมีหน้าจอขนาดใหญ่ขึ้นมาทดแทน ใช้ในกรณีที่จำเป็น พอบางโปรแกรมไม่ต้องใช้ก็ไม่มี อีกทั้งการสื่อสารผ่านโปรแกรมต่างๆก็ใช้การดูหน้าจอเป็นหลัก เช่น โปรแกรมแชท Line ที่ใช้การคุยผ่านตัวอักษรเป็นหลัก 


กล้อง สิ่งสำคัญที่ยอมรับว่าจำเป็นอีกเช่นกัน ไม่ได้ใช้เพียงการถ่ายรูป แต่ยังใช้อีกหลายอย่าง เช่นการคุยแบบเห็นหน้า(Video Call) การใช้สแกนบาร์โค๊ดเพื่อเข้าลิ้งต่างๆ เป็นต้น


เซนเซอร์ต่างๆ ทั้งระบบจดจำลายนิ้วมือ หรือเซนเซอร์หน้าจอ ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่นการปลดล๊อคหรือเข้าโปรแกรมด้วยลายนิ้วมือ แทนการเข้าด้วยรหัสที่ปลอดภัยมากขึ้น แต่ก็มีในโทรศัพท์รุ่นสูงๆราคาค่อนข้างแพง เซนเซอร์หน้าจอ ตัวอย่างเช่นการคุยโทรศัพท์จะปิดหน้าจอเวลาคุยทำให้หน้าไม่โดนโปรแกรมต่างๆ หรือการถ่ายรูปที่มีโปรแกรมจับรอยยิ้ม หรือจับเวลาจากการโบกมือทำให้สะดวกขึ้นเวลาจะถ่ายรูปตัวเองที่อยู่ไกลๆ กดมือถือไม่ถนัด


 

แน่นอนว่า มือถือสมัยนี้มีเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆให้ได้ใช้ตลอดเวลาที่ปรับเปลี่ยนรุ่น  ที่ช่วยอำนวยความสะดวก ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นตามไปด้วย






ตัวอย่างเช่น

     เรื่องของความปลอดภัย จากเซนเซอร์ต่างๆ ทั้งปุ่มกดที่สแกนลายนิ้วมือผู้ใช้ ทำให้ปลอดภัยทั้งการโจรกรรมมือถือ และข้อมูลต่างๆภายในเครื่อง


    ความสะดวกสบาย จากมือถือเมื่อก่อนที่มีแค่ไฟฉาย ปัจจุบันเป็นได้ทั้งแฟลชกล้องถ่ายรูปมือถือและไฟฉายด้วยในตัว

    โปรแกรมกล้องถ่ายภาพที่ถ่ายภาพเวลายิ้ม จับสัญญาณภาพมือเพื่อตั้งเวลาถ่ายภาพ เป็นต้น

นอกจากนี้มือถือบางรุ่นยังมี ปากกามือถือ (Stylus) ที่ช่วยให้การใช้ปุ่มสัมผัสหน้าจอ หรืองานวาดรูป งานเขียนต่างๆ ง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น